Posted on

อุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการสร้างหุ่นยนต์ 1

พลาสติกแผ่น(อะคีริก)

พลาสติกแผ่นเป็นวัสดุหลักที่ใช้ในการสร้างตัวหุ่นยนต์ที่สามารถหาได้ง่าย ด้วยความหนา3มิลลิเมตรเป็นความหนาที่พอดีคือไม่บางหรือหนาเกินไป และสามารถตัดได้ไม่ยากด้วยเลื่อยฉลุ พลาสติกแผ่นนี้สามารถหาซื้อได้ที่ร้านเครื่องเขียน(ศึกษาภัณฑ์พานิช)หรือร้านทำป้ายพลาสติกซึ่งสามารถที่จะขอแบ่งซื้อเป็นส่วนๆตามต้องการได้แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีขายเป็นขนาดมาตรฐานคือ1ฟุตx1ฟุต ความหนาของแผ่นพลาสติกแนะนำให้ใช้ที่ขนาด3มิลลิเมตรซึ่งเป็นความหนาที่กำลังดี อย่างไรก็ตามหากต้องการความแข็งแรงให้กับตัวหุ่นมากขึ้นสามารถเลือกใช้ความหนาที่เพิ่มมากขึ้นได้ตามต้องการ

เลื่อยฉลุ โครงเลื่อย ใบเลื่อย
เลื่อยฉลุเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดสำหรับการสร้างหุ่นยนต์ด้วยตนเอง เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่สำหรับตัดพลาสติกแผ่นให้เป็นรูปร่างตามแบบที่ต้องการโดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรราคาแพงเพียงแต่ผู้ใช้อาศัยทักษะเพียงเล็กน้อยในการเลื่อยก็ได้ชิ้นงานตามต้องการแล้วแต่ถ้าผู้ใช้ยังไม่เคยใช้เลื่อยฉลุมาก่อนก็อาจต้องทำความคุ้นเคยก่อนซึ่งก็ใช้เวลาไม่นานนัก เลื่อยฉลุมีส่วนประกอบหลักๆอยู่สองส่วนคือ

1 โครงเลื่อยฉลุ โครงเลื่อยฉลุจะมีลักษณะคันเหล็กโค้งเป็นรูปตัวยูโดยปลายด้านหนึ่งจะมีด้ามจับซึ่งตั้งฉากกับโครงเหล็กรูปตัวยู ที่ปลายโครงเลื่อยทั้งสองด้านจะมีน๊อตสำหรับขันยึดใบเลื่อยดังรูปที่2 โครงเลื่อยฉลุเมื่อซื้อมามักจะมีใบเลื่อยแถมมาให้ด้วยแต่ถ้าเป็นแบบราคาถูกก็จะไม่มีใบเลื่อยแถมมาให้ โครงเลื่อยมีทั้งราคาถูกและราคาแพงซึ่งผู้ใช้สามารถสามารถเลือกใช้ได้ตามกำลังทรัพย์โดยอาจมีราคาตั้งแต่30บาทจนถึงหลายร้อยบาทแต่อย่างไรก็ตามผู้เขียนได้ทดลองใช้งานแบบราคาถูกก็สามารถใช้งานได้ดีพอสมควร

2 ใบเลื่อยฉลุ เป็นหัวใจสำคัญเพราะชิ้นงานที่ได้จากการตัดด้วยเลื่อยฉลุจะเรียบตรงดีหรือไม่จะขึ้นอยู่กับใบเลื่อยที่ใช้ด้วยส่วนหนึ่ง ใบเลื่อยฉลุที่ขายส่วนใหญ่ที่มีขายตามร้านขายเครื่องเขียนหรือร้านขายฮาร์ดแวร์ต่างๆจะขายเป็นโหลคือใบเลื่อยจำนวน12ใบจะถูกมัดไว้ด้วยลวดขนาดเล็ก ใบเลื่อยชนิดนี้จากการทดลองใช้พบว่าใช้ได้ไม่ดีคือใบเลื่อยจะบางและขาดง่ายและฟันที่ใบเลื่อยจะไม่ค่อยสมบูรณ์ ดังนั้นจึงหันมาใช้ใบเลื่อยอย่างดีซึ่งใบเลื่อยจะมีความหนาพอสมควรทำให้ไม่ขาดง่าย ฟันเลื่อยจะสมบูรณ์ไม่แหว่งหายไปเป็นช่วงๆ ใบเลื่อยฉลุแบบอย่างดีนั้นจะขายเป็นใบราคาใบประมาณ10ถึง20บาทขึ้นอยู่กับแต่ละร้าน มีขายแถวๆคลองถมหรือที่โฮมโปรก็มีขายโดยมีใบเลื่อยอย่างดีแถมมาพร้อมกันเมื่อเราซื้อโครงเลื่อย แต่ถ้าไม่สามารถหาซื้อใบเลื่อยชนิดอย่างดีได้การใช้ใบเลื่อยโหลก็ใช่ว่าจะเลื่อยตัดพลาสติกไม่ได้ แต่ผลงานที่ได้อาจจะต้องใช้ตะไบตกแต่งรอยตัดที่ได้อีกสักเล็กน้อยเนื่องจากรอยตัดที่ได้จะไม่ค่อยเรียบเท่าใดนัก

สว่าน และดอกสว่าน

สว่านที่ใช้สามารถใช้ได้ทั้งสว่านแท่นและสว่านมือ การใช้งานสว่านไม่ยาก หลักการมีเพียงเลือกขนาดของดอกสว่านให้ตรงหรือใกล้เคียงกับรูที่ต้องการ แล้วขันเข้ากับหัวสว่านให้แน่น การเจาะนั้น แนะนำให้ค่อยๆกดดอกสว่านลงไปในเนื้อพลาสติก การกดลงเร็วเกินไปอาจจะทำให้พลาสติกแตกได้ ดอกสว่านที่ใช้ในโครงงานนี้ส่วนใหญ่จะเป็นขนาด 3 มิลลิเมตรหรือ1/8นิ้วสำหรับใส่น๊อต และ 6 มิลลิเมตรสำหรับขยายรู ดอกสว่านที่ขายกันทั่วไปสามารถซื้อแยกเฉพาะขนาดที่เราใช้ก็ได้หรืออาจจะซื้อเป็นชุดก็มีขาย ดอกสว่านนั้นยังแยกตามการใช้งานได้อีกสองประเภทใหญ่ๆคือแบบสำหรับเจาะไม้จะมีสีดำ และแบบเจาะเหล็กจะมีสีขาวเงินทำจากสเตนเลส ราคาอย่างหลังจะแพงกว่าแบบแรก สำหรับการเจาะพลาสติกอย่างเดียวนั้นใช้ดอกสว่านสีดำก็เพียงพอแล้ว

ตะไบชุดหรือตะไบช่างทอง

ตะไบชุดคือตะไบขนาดเล็กที่มีลักษณะต่างๆกันรวมกันเป็นชุด ซึ่งสามารถเลือกใช้เพื่อขัดตกแต่งชิ้นงานหลังจากที่ตัดด้วยเลื่อยฉลุ โดยส่วนใหญ่ใช้เพื่อขัดลบคมขอบชิ้นงานด้วยตะไบสี่เหลี่ยม ถ้าเป็นรูเจาะสามารถใช้ตะไบกลมเพื่อลบคมได้

กาว

กาวที่ใช้ในการติดและประกอบพลาสติคสำหรับสร้างหุ่นยนต์ในหนังสือเล่มนี้สามารถใช้ได้ทั้งที่เป็นตัวเชื่อมพลาสติกโดยเฉพาะแสดงดังรูปที่10หรือให้กาวชนิดแห้งเร็วดังรูปที่11 ส่วนตัวหุ่นยนต์ต้นแบบที่แสดงในหนังสือใช้กาวชนิดแห้งเร็วในการประกอบเนื่องจากมีความแข็งแรงมากกว่าและแห้งเร็วกว่าแต่ราคาก็แพงกว่าน้ำยาสำหรับเชื่อมอะคีริก กาวอีกอย่างที่ต้องใช้ก็คือกาวสำหรับติดแบบชิ้นส่วนหุ่นยนต์ขนาดเท่าของจริงที่เป็นกระดาษลงบนแผ่นพลาสติกที่ยังไม่ได้ลอกกระดาษออก

 

นอต ไขควงแฉก ไขควงแบน

นอตที่ใช้สำหรับทำหุ่นยนต์ในหนังสือเล่มนี้โดยส่วนใหญ่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง3มิลลิเมตรหรือเรียกว่านอตM3 โดยจะใช้ที่ขนาดความยาวต่างๆกันตามความเหมาะสม หัวนอตเป็นหัวแฉกสามารถใช้ไขควงแฉกขันได้ส่วนนอตตัวเมียที่ใช้ในการสร้างหุ่นยนต์มีอยู่สองแบบคือแบบธรรมดา และแบบไนล่อนล็อค โดยมีการใช้งานที่แตกต่างกัน นอตตัวเมียแบบธรรมดาใช้เพื่อขันยึดชิ้นงานสองชิ้นให้ติดกัน ชิ้นงานสองชิ้นนี้จะไม่สามารถขยับไปไหนได้ ส่วนนอตตัวเมียแบบไนล่อนล็อค มันถูกออกแบบให้มีพลาสติกติดอยู่กับตัวนอตเพื่อให้การขันเข้าและขันออกทำได้ไม่ง่ายนักมันเหมาะสำหรับงานที่มีความสั่นสะเทือนอยู่ตลอดเวลาซึ่งถ้าขันด้วยนอตธรรมดามันอาจคลายตัวเลื่อนหลุดออกมาได้แต่สำหรับหรับนอตแบบไนล่อนล๊อคเมื่อขันเข้ากับนอตตัวผู้แล้วมันจะไม่คลายตัวเลื่อนหลุดเองนอกจากการใช้คีมจับนอตตัวเมียไว้แล้วใช้ไขควงขันดังรูปที่14จึงจะสามารถขันเข้าหรือขันออกได้  ล็อกนอต, ไนล่อนนอต,ไนล่อนล็อค หรือนอตบังคับเกลียวเป็นชื่อที่ใช้เรียกนอตชนิดนี้ดังรูปที่12  นอตประเภทนี้จะมีส่วนที่ทำด้วยพลาสติก เมื่อมีการใช้กับนอตตัวผู้จะทำให้แน่นขึ้นสามารถยึดตัวนอตได้ในตำแหน่งที่ต้องการการทำงานคล้ายกับดับเบิลนอตในรูปที่13 แต่ใช้งานง่ายกว่า ราคาจะแพงขึ้นเล็กน้อย

Posted on

ล้ออมนิ (OMNI WHEEL) สร้างได้ด้วยตัวคุณเอง

ล้ออมนิที่ราคาแสนแพง สามารถสร้างได้ด้วยตัวคุณเองในราคาไม่ถึงสองร้อยบาท โดยที่การใช้งานไม่ได้แตกต่างกันเลยบทความนี้จะได้เสนอเทคนิควิธีการสร้างล้ออมนิ อย่างละเอียด เพื่อที่คุณจะสร้างไว้ใช้งานสำหรับหุ่นยนต์ตัวใหม่ของคุณ

 

แนะนำล้ออมนิ

ล้ออมนิ เป็นชื่อเรียกสั้นๆของ omni-directional wheel ล้อชนิดนี้ถูกออกแบบและสร้างครั้งแรกโดยมหาวิทยาลัย stanford ดังนั้นบางครั้งก็มีคนเรียกมันว่า stanford omin-directional wheel

Posted on

ขั้นตอนการทำแผ่นวงจรพิมพ์อย่างรวดเร็วด้วยเครื่องกัดขนาดเล็กและโปรแกรม Eagle

สำหรับนักอิเล็กทรอนิกส์มือใหม่ส่วนใหญ่คงได้ผ่านการทำแผ่นวงจรด้วยตัวเองมาแล้ว และวิธีที่พื้นฐานที่สุดใช้กันคือการใช้น้ำยาที่เรียกว่า กรดกัดปริ้นต์ วิธีการนี้ก็ใช้งานได้ดี แต่มีข้อเสียคือการใช้น้ำยาทำให้เลอะเทอะ และลายวงจรบางแห่งอาจจะไม่สวยเพราะหมึกที่ใช้ทำลายวงจรหลุดล่อนขณะที่นำไปแกว่งในน้ำยา ส่วนอีกวิธีหนึ่งก็จะเป็นการใช้เครื่องมือไปขุดเซาะให้แผ่นทองแดงเป็นลวดลายตามต้องการ ในที่นี้จะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า mini cnc หรือเครื่องกัดขนาดเล็ก ขอออกตัวไว้ก่อนว่าบทความนี้จะเน้นไปที่วิธีการ ขั้นตอนการ แปลงไฟล์ เท่านั้น ไม่ได้เน้นการสร้าง เครื่องกัดขนาดเล็ก เนื่องจากหากได้ไฟล์ควบคุมเครื่องจักรที่เรียกว่า G-code แล้วผู้อ่านก็สามารถนำไปกัดกับเครื่องใดๆก็ได้ใช้โปรแกรมเขียนลายวงจรที่ชื่อว่า Eagle ทำการสร้างลายวงจรตามที่ต้องการ หลังจากนั้นจะทำการสร้างไฟล์ g-code ซึ่งเป็นไฟล์ที่จะบอกให้เครื่องกัดเคลื่อนที่เป็นรูปร่างที่ต้องการ ในที่นี้ก็คือลายวงจรนั้นเอง สำหรับการกัดด้วยเครื่องกัดนั้น จะใช้โปรแกรม Grbl ก็ได้ โดยโปรแกรมจะอ่านไฟล์ G-code แล้วส่งสัญญาณผ่านพอร์ต USB ไปยังวงจรขับสเต็ปมอเตอร์ เพื่อให้เครื่องกัดเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่ระบุไว้ตามไฟล์ g-code นั้นเอง

Posted on

LaserGRBL

LaserGRBL เป็นโปรแกรม ส่ง GCode กับเลเซอร์ เหมาะกับงานแกะสลักภาพทั้งภาพและโลโก้ และ LaserGRBL ยังเครื่องมือแปลงไฟล์ภายในด้วยซึ่งนับเป็นโปรแกรมทางเลือกที่ดีและไม่เสียค่าใช้จ่ายLaserGRBL เข้ากันได้กับ Grbl v0.9 และ Grbl v1.1

Posted on

Grbl

Grbl

  • เริ่มต้นใช้งาน
  • การตั้งค่า Grbl
  • การตั้งค่า Grbl และความหมาย
  • คำสั่งอื่น ๆ $ Grbl’s
  • คำสั่ง Real-Time
Posted on

ต้นแบบ PCB ด้วย CopperCAM

CopperCAM เป็นโปรแกรมประยุกต์สำหรับจัดการไฟล์ เพื่อเตรียมทำต้นแบบแผ่น  PCB

ลำดับขั้นตอนการใช้ CopperCAM ง่ายๆคือ:

  • – Opening Gerber file containing one circuit layer
    – Opening next layers (maximum 4), if any
    – Detecting or plotting card cut-out contour
    – Opening Excellon file for drillings, if any
    – Aligning layers (automatic or manual)
    – Plotting tracks that are centerline texts
    – Calculating isolation contours
    – Hatching zones for removing all the copper
    – Checking drill tools and eventual boring cycles
    – Sending output data to the driver software or to the machine

ข้อจำกัด

CopperCAM ไม่สามารถรับประกันการนำเข้าไฟล์ทั้งหมดและการจัดตำแหน่งชั้นอัตโนมัติให้ถูกต้อง

Posted on

การนำเข้า ไลบรารี่ จาก Snapeda เข้าสู่ Altium

การนำเข้า ไลบรารี่ จาก Snapeda เข้าสู่ Altium

ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ เพื่อนำเข้าสัญลักษณ์และ footprint ไปไว้ใน Altium Designer หรือ CircuitStudio:

  1. Select File > Import Wizard
  2. Select PCAD library from the list and click Next
  3. Click Next again to skip importing a P-CAD design
  4. In the dialog to import a PCAD library, add the file downloaded from SnapEDA
  5. Follow the rest of the prompts
Posted on

ออกแบบ PCB ด้วย DesignSpark (DSPCB)

DesignSpark PCB โปรแกรมออกแบบ PCB โดย RS Components ที่หลายท่านอาจจะรู้จักเว็บขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ https://th.rs-online.com DesignSpark

PCB มีข้อดีคือ สามารถใช้งานได้ฟรี โดยต้องทำการลงทะเบียนกับเว็บไซต์ Rs-online.Com เราจะสามารถใช้งาน DesignSpark PCB ได้เต็มฟังก์ชั่น

Download โปรแกรมได้ที่ http://pcb.designspark.info/DesignSparkPCB_v8.1.exe