คำอธิบาย
ชุดทดลองตรวจจับวัตถุบนสายพานลำเลียง
Automation Conveyor + Photoelectric sensors + Counter
ระบบอัตโนมัติ หรือ Automation ประกอบด้วย Hardware และ Software ที่ทำงานร่วมกัน ให้สามารถควบคุมการทำงาน ของระบบเป็นไปแบบอัตโนมัติ ระบบอัตโนมัติ นั้นจะเกี่ยวข้องกับ ระบบควบคุม Control System รวมถึงวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์พื้นฐานของระบบอัตโนมัติประกอบด้วยส่วนหลักๆคือ
- อินพุทจากเซนเซอร์ต่างๆ เซ็นเซอร์วัดความดัน Pressure sensor, เซ็นเซอร์อุลตราโซนิค Ultrasonic sensor , เซ็นเซอร์ความชื้น Humidity sensor, เซ็นเซอร์วัดก๊าซ Gas sensor, เซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวแบบพีไออาร์ PIR motion sensor, เซ็นเซอร์วัดความเร่ง Acceleration sensor, เซ็นเซอร์วัดแรง Force sensor, เซ็นเซอร์สี color sensor, เซ็นเซอร์เซ็นเซอร์วัดมุมและการหมุน gyro sensor, เซ็นเซอร์อัลตราโซนิก ultrasonic sensor และอื่นๆเช่น เทอร์โมไพล์
- การสื่อสาร – สายเคเบิล USB, RS485, WiFi และอื่นๆ
- ตัวควบคุม เช่น MCU และอื่นๆ
- เอาท์พุท – เช่นวาล์ว, มอเตอร์, หลอดไฟ, ลำโพง และอื่นๆ
มีอะไรเตรียมไว้ให้ในชุด
- สายพานลำเลียง Mini Conveyor + แหล่งจ่ายไฟอะแดปเตอร์ / AC-DC Adaptor 1 ตัว
- ชุดผลักชิ้นงาน Rejector แบบใช้ Step motor 1 ชุด
- บอร์ด L298P Motor Shield 1 บอร์ด
- บอร์ด Arduino Uno 1 บอร์ด
- ชุดสายไฟแบบหัวเสียบ DC Jack สำหรับต่อมอเตอร์ 1 ชุด
- ชิ้นงานสำหรับทดสอบสี ทดสอบโลหะ ทดสอบอโลหะ ทดสอบน้ำหนัก ทดสอบของเหลว ทรงกระบอก 1 เซต
- เซนเซอร์ Photoelectric ติดตั้งบนแผ่นเพลท 1 ตัว
- ชุด Counter แสดงผลนับ 7-Segment 4 หลัก
การใช้ Photoelectric Proximity sensors ตรวจจับชิ้นงาน
- สายสีน้ำตาล : +5V
- สายสีน้ำเงิน : GND
- สายสีดำ : DIGITAL OUTPUT / NPN normally open (Active Low) ต่อ DIGITAL OUTPUT เข้ากับขา Analog ของ Arduino Uno
Photoelectric sensors เป็นเซนเซอร์ใช้ตรวจจับวัตถุที่อยู่ห่างออกไประยะทางตรวจจับแตกต่างกันไปตาม P/N: ของเซนเซอร์ตัวนั้นๆ Photoelectric sensors โดยมากก็จะสามารถตรวจจับวัตถุได้ในระยะ 3cm – 80cm โดยประมาณ ทั้งนี้ โฟโตอิเล็กทริคเซ็นเซอร์ ทำงานโดยใช้หลัก การใช้แสงสะท้อนเพื่อตรวจจับวัตถุ ซึ่งโฟโตอิเล็กทริคเซ็นเซอร์สามารถนำมาตรวจจับวัตถุได้เกือบทุกชนิด.
โค้ด Arduino
int Speed = 255; // กำหนด Speed 0-255 ความเร็วสายพาน
เมื่อ Photoelectric เจอชิ้นงานแล้ว
รอเวลาให้ชิ้นงานวิ่งไปใกล้ Rejector สามารถเปลี่ยนแปลงค่าให้เหมาะสมกับความเร็วสายพาน
ส่ง Logic 0 เพื่อให้ Rejector ทำงาน เปรียบเสมือน การ กดสวิตช์
ส่งสัญญาณไปยังวงจรเคาท์เตอร์
หน่วงเวลาขาลง นาน 100 มิลลิเซค
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 |
int E1 = 10; // Speed control Motor A int E2 = 11; // Speed control Motor B int M1 = 12; // direction control Motor A int M2 = 13; // direction control Motor B int sensor_A = A0; //Uno Analog Pin A0 for int sensor_B = A2; //Uno Analog Pin A2 int Buzzer = 4; //Uno Digital Pin 4 for alarm int Rejector = 9; //Uno Digital Pin 9 for Rejector int SensorValue_A = 0; int SensorValue_B = 0; int outputValue = 0; int Count_Value = 0; int flag_count = 0; int Speed = 255; // กำหนด Speed 0-255 ความเร็วสายพาน int delay_injector= 2500; //หน่วงเวลาหลังจากเจอชิ้นงาน ค่อยผลัก void setup() { pinMode(M1, OUTPUT); pinMode(M2, OUTPUT); pinMode(Buzzer, OUTPUT); pinMode(Rejector, OUTPUT);//Rejector digitalWrite(Rejector, HIGH); pinMode(A5, OUTPUT); digitalWrite(A5, HIGH); Serial.begin(9600); } void loop() { SensorValue_A = analogRead(sensor_A); // map it to the range of the analog out: //SensorValue_A = map(SensorValue_A, 0, 1023, 0, 255); //Serial.println(SensorValue_A); // delay(100); if(SensorValue_A > 128) // sensor_A ไม่เจอชิ้นงาน { flag_count=0; digitalWrite(M1, HIGH); // direction Motor A digitalWrite(M2, LOW); // direction Motor B analogWrite(E1, Speed); // อ่านค่า Speed ที่กำหนดไว้ เพื่อควบควม Motor A analogWrite(E2, Speed); // อ่านค่า Speed ที่กำหนดไว้ เพื่อควบควม Motor B } else // sensor_A เจอชิ้นงานแล้ว { delay(delay_injector); // รอเวลาให้ชิ้นงานวิ่งไปใกล้ Rejector สามารถเปลี่ยนแปลงค่าให้เหมาะสมกับความเร็วสายพาน digitalWrite(Rejector, LOW);// ส่ง Logic 0 เพื่อให้ Rejector ทำงาน เปรียบเสมือน การ กดสวิตช์ digitalWrite(A5, LOW);// ส่งสัญญาณไปยังวงจรเคาท์เตอร์ delay(100); //หน่วงเวลาขาลง นาน 100 มิลลิเซค digitalWrite(Rejector, HIGH); digitalWrite(A5, HIGH); } } |
คู่มือการใช้งานชุดทดลอง Automation Conveyor
- https://www.dropbox.com/sh/65s1bco53zf2zii/AACtUNL04D5q8IjNrlkuwFP5a?dl=0
- https://www.dropbox.com/sh/125h1rywzbicczl/AAA9kOqgjyV-gbKzEt3AkcCHa?dl=0
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์